โครงสร้างและหน้าที่ของดีเอ็นเอ ของ โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก

กรณีที่ว่าโครงสร้างของโมเลกุลนั้นง่ายที่จะทำให้สัมพันธ์กับหน้าที่ของมันนั้นไม่ถูกต้องเสมอไป สิ่งที่ทำให้โครงสร้างของดีเอ็นเอสัมพันธ์กับหน้าที่ของมันอย่างเห็นได้ชัดนั้นได้อธิบายพอประมาณไว้แล้วในตอนท้ายของบทความ: "มันหนีไม่พ้นการสังเกตของเราที่ว่าการเข้าคู่กันอย่างเฉพาะตามที่เราได้สันนิษฐานไว้นั้นจะบ่งบอกถึงกลไกการทำสำเนาสำหรับสารพันธุกรรมได้ทันที"

"การเข้าคู่กันอย่างเฉพาะ" นั้นเป็นลักษณะที่สำคัญของแบบจำลองดีเอ็นเอของวัตสันและคริก ซึ่งเป็นการเข้าคู่กันของหน่วยย่อยนิวคลีโอไทด์[4] ในดีเอ็นเอ ปริมาณของกวานีนนั้นจะเท่ากับไซโตซีน และปริมาณของอะดีนีนจะเท่ากับไทมีน คู่ A:T และ C:G นั้นมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน หากจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว ความยาวของคู่เบสแต่ละคู่นั้นจะมีค่าเท่ากัน และจะพอเหมาะเท่ากับระหว่างสันหลังฟอสเฟตสองอัน คู่เบสจะถูกยึดเข้าด้วยกันด้วยพันธะไฮโดรเจน ซึ่งเป็นสารล่อที่เป็นเคมีประเภทหนึ่งที่ง่ายที่จะแตกและง่ายที่จะก่อตัวขึ้นใหม่ หลังจากมีการรับรู้ถึงความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างคู่ A:T และ C:G แล้ว ไม่นานหลังจากนั้น วัตสันและคริกก็ได้สร้างแบบจำลองเกลียวคู่ดีเอ็นเอพร้อมกับพันธะไฮโดรเจนที่แกนกลางของเกลียวซึ่งทำให้เกิดทางที่จะคล้ายเกลียวทั้งสองสำหรับการถอดแบบดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสิ่งต้องการสุดท้ายที่สำคัญสำหรับแบบจำลองโมเลกุลพันธุกรรมที่น่าจะเป็นไปได้

พร้อมกันนั้น การเข้าคู่เบสยังได้แสดงวิธีการทำสำเนาโมเลกุลดีเอ็นเออีกด้วย เพียงแค่ดึงสันหลังฟอสเฟตสองอันแยกจากกัน ซึ่งแต่ละสันหลังพร้อมกับส่วนประกอบ A, T, G และ C ซึ่งเชื่อมกันด้วยพันธะไฮโดรเจน แต่ละสายนั้นจะสามารถใช้เป็นแม่แบบสำหรับการรวมกลุ่มกันของสายคู่เบสใหม่

เมื่อวัตสันและคริกสร้างแบบจำลองเกลียวคู่ดีเอ็นเอของพวกเขา ก็เป็นที่รู้กันแล้วว่าโปรตีนนั้นก่อให้เกิดลักษณะพิเศษส่วนใหญ่ของรูปแบบสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันจำนวนมากบนโลก ซึ่งในทางโครงสร้างแล้ว โปรตีนเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของหน่วยย่อยกรดอะมิโนเป็นสายยาว ในบางกรณี โมเลกุลทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอ จำเป็นต้องมีคำสั่งสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนที่พบได้ในเซลล์ จากแบบจำลองเกลียวคู่ดีเอ็นเอ ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่างลำดับเส้นตรงของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลดีเอ็นเอกับลำดับเส้นตรงของกรดอะมิโนในโปรตีน รายละเอียดที่ว่าลำดับดีเอ็นเอสั่งให้สังเคราะห์โปรตีนชนิดใดนั้นได้มีการหาคำตอบโดยนักชีววิทยาโมเลกุลระหว่างปี ค.ศ. 1953 ถึง 1965 ฟรานซิส คริกมีบทบาทสำคัญในทั้งทฤษฎีและการวิเคราะห์การทดลองซึ่งนำไปสู่การทำความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของรหัสพันธุกรรม[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก http://books.google.com/?id=5cRPPgAACAAJ&dq=eighth... http://www.nature.com/nature/dna50/watsoncrick.pdf //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/13054692 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/5796048 //doi.org/10.1038%2F171737a0 //doi.org/10.1126%2Fscience.164.3887.1537 http://www-outreach.phy.cam.ac.uk/camphy/dna/dna_e... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1953Natur.171..7...